วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ประเพณีไหว้พระธาตุดอยตุง



ชื่อ ประเพณีไหว้พระธาตุดอยตุง
ภาค ภาคเหนือ
จังหวัด เชียงราย

ช่วงเวลา วันเพ็ญเดือน ๖ เหนือ (เดือน ๔ ไทยกลาง) หลังวันมาฆบูชา ๑ เดือนความสำคัญพระธาตุดอยตุง เป็นปูชนียสถานเก่าแก่ของชาวพุทธในเชียงราย และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้ง ชาวพุทธในรัฐเชียงตุง ประเทศพม่า และในประเทศลาว การไหว้พระธาตุดอยตุงเชื่อว่าจะทำให้ชีวิตดีขึ้นพิธีกรรมในวันเพ็ญเดือน ๖ พุทธมามะกะจากทุกทิศ จะเดินทางขึ้นไปบนยอดดอยตุง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย กิจกรรมในวันนั้น ภาคกลางวันมีการบูชาพระรัตนตรัย รับศีล และฟังเทศน์ กลางคืนมีการเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุ ในอดีต ผู้ที่เดินทางมักเดินจากเชิงเขาที่บ้านห้วยไคร้ อำเภอแม่สายขึ้นไปเป็นระยะทางประมาณ ๙ กิโลเมตร ปัจจุบันนี้ นิยมเดินทางด้วยรถยนต์ตามถนนลาดยางที่แยกจากถนนพหลโยธินที่บ้านสันกอง อำเภอแม่จัน ส่วนผู้ที่นิยมเดินขึ้นเหลือน้อยลง เพราะถนนสำหรับรถยนต์ได้ทับเส้นทางเดินเท้าหลายแห่งสาระประเพณีของชาวพุทธมีการสมาทานศีลและการฟังเทศน์เป็นหลัก ซึ่งเป็นไปเพื่อชำระจิตใจให้ปราศจากกิเลส และฝักใฝ่ทางกุศล การเดินทางขึ้นไปบนยอดดอยตุงแสดงให้เห็นศรัทธา ความเพียร และความอดทน

ประเพณีนมัสการพระธาตุช่อแฮ



ชื่อ ประเพณีนมัสการพระธาตุช่อแฮ
ภาค ภาคเหนือ
จังหวัด แพร่
พระธาตุช่อแฮเป็นปูชนียสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญยิ่งของจังหวัดแพร่ ตั้งอยู่บนเนินเขาโกสิยธชัคตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีปรากฏอยู่ในตำนาน มีงานนมัสการเป็นประจำทุกปี นับตั้งแต่โบราณมาจนกระทั่งทุกวันนี้ช่วงเวลาที่จัดงานระหว่างวันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๖ เหนือ (เดือน ๔ ไต้) ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ รวม ๕ วัน ๕ คืนความสำคัญการนมัสการพระธาตุช่อแฮเป็นความเชื่อที่ถือปฏิบัติสืบกันมาว่า การได้กราบไหว้บูชาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จะเป็นสิริมงคลแก่ตัว ทำให้มีความสุขความเจริญพิธีการระหว่างวันขึ้น ๑๑ ค่ำ-๑๔ ค่ำ จะเปิดโอกาสให้ประชาชนทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัดขึ้นไปนมัสการพระธาตุ ทั้งกลางวันและกลางคืน มีการทำบุญซื้อดอกไม้ธูปเทียนไหว้องค์พระธาตุและไหว้พระเจ้าทันใจเสี่ยงเซียมซี ในรุ่งเช้าวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ตรงกับวันมาฆบูชา ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของงานต่างร่วมใจกันนำอาหารไปทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์บริเวณลานพระธาตุ ตอนสาย ๆ กลุ่มผู้คนที่มาทำบุญตักบาตรบางส่วนอาจเดินทางไปที่พระธาตุดอยเล็ง เพื่อไปกราบไหว้บูชาพระธาตุและชมทัศนียภาพบ้านเมืองที่เรียงรายสวยงาม ตอนกลางคืนประชาชนจะไปร่วมกันเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุและวิหาร ในระหว่างการจัดงานจะมีมหรสพสมโภชทุกคืนสาระประเพณีนมัสการพระธาตุช่อแฮ เป็นประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาด้วยจิตใจอันดีงามและความสามัคคีของชาวแพร่

ประเพณีทานขันข้าว



ชื่อ ประเพณีทานขันข้าว
ภาค ภาคเหนือ
จังหวัด ลำปาง


ช่วงเวลาเทศกาลสงกรานต์ เข้าพรรษา ออกพรรษาความสำคัญประเพณีทานขันข้าว คือ ประเพณีการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้วายชนม์ไปแล้ว เป็นวัฒนธรรมที่แสดงถึงความกตัญญูอีกแบบหนึ่งของชาวไทย โดยนำสำรับกับข้าวไปถวายวัดในวันเทศกาลสำคัญ เช่น สงกรานต์ เข้าพรรษาและออกพรรษา หรือทำบุญอุทิศส่วนกุศลในโอกาสอื่นๆพิธีกรรมก่อนวันทำบุญ มีการจัดเตรียมอาหาร หวาน คาว นำเอาใบตองมาเย็บทำสวย (กรวย) สำหรับใส่ดอกไม้ ธูป และเตรียมขวดน้ำหยาด (สำหรับกรวดน้ำ)รุ่งขึ้นอันเป็นวันทำบุญ เวลาประมาณ ๖.๓๐-๘.๐๐ น. ทุกครัวเรือนเตรียมอุ่นอาหารและบรรจุใส่ปิ่นโต พร้อมทั้งสวยดอกไม้และน้ำหยาด บางบ้านอาจเขียนชื่อผู้ที่ตนต้องการจะ ทานไปหา (อุทิศส่วนกุศลไปให้) ลงในกระดาษ จากนั้นคนในครอบครัวจะช่วยกันหิ้วปิ่นโตไปวัดวัดจะจัดสถานที่สำหรับให้ศรัทธาชาวบ้านนำปิ่นโตมาถวาย การประเคนปิ่นโต มักจะเอาสวยดอกไม้เสียบไปพร้อมกับปิ่นโต บ้านที่มีกระดาษจดรายชื่อผู้ที่จะทำบุญไปให้ก็จะเอากระดาษเหน็บติดไปกับปิ่นโตด้วย พร้อมกันนั้นก็เทน้ำหยาดจากขวดใส่ลงในขันที่วางอยู่หน้าพระสงฆ์เมื่อศรัทธาชาวบ้านมากันพอสมควรแล้ว พระสงฆ์ก็จะมีโวหารกล่าวนำการทำบุญ และให้พรดังนี้- แสดงความชื่นชมที่ศรัทธาชาวบ้านได้ช่วยกันรักษาจารีตแต่โบราณ- กล่าวถึงผู้รับของทาน พระสงฆ์อ่านชื่อผู้วายชนม์ตามที่ศรัทธาเขียนมาในแผ่นกระดาษ ส่วนบางคนที่ไม่ได้เขียนมา ก็จะเอ่ยว่าการทานครั้งนี้มีไปถึง บรรพบุรุษ เจ้ากรรมนายเวร เทวบุตร เทวดา แม่พระธรณี เจ้าที่เจ้าทาง สรรพสัตว์ ฯลฯ- กล่าวให้มารับของทาน มารับเอาทานครั้งนี้ หากมารับไม่ได้ ให้ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้นำไปให้- อวยพรให้แก่ผู้มาทำบุญ ทานขันข้าว- กล่าวยถา สัพพีในการให้พรนั้นหลังจากจบคำว่า อายุ วัณโณ สุขัง พลัง ศรัทธาชาวบ้านจะกล่าวสาธุพร้อมกัน จากนั้นจึงรับเอาปิ่นโตไปให้สามเณรหรือเจ้าหน้าที่จัดการเทอาหารออก เป็นอันเสร็จพิธีทานสาระการทานขันข้าว นอกจากจะเป็นการทำบุญ ที่แสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษแล้ว การประกอบอาหารก็ดี การไปทำบุญร่วมกันที่วัดก็ดี เป็นกิจกรรมที่ทำให้ครอบครัวเกิดความรัก ความอบอุ่น ประการสำคัญ การพาเด็ก ๆ ไปทานขันข้าวที่วัด นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมการทำบุญแล้ว ยังเป็นการสืบทอดในเรื่องความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยไม่ต้องใช้วิธีอบรมสั่งสอน แต่เป็นวิธีที่ผู้ใหญ่ได้ปฏิบัติตนให้ลูกหลานได้เห็นเป็นตัวอย่าง ซึ่งเป็นวิธีสืบทอดหรือการสอนที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง โดยไม่จำเป็นต้องมีการพูดแต่อย่างใด

ประเพณีตานก๋วยสลาก



ชื่อ ประเพณีตานก๋วยสลาก
ภาค ภาคเหนือ
จังหวัด ลำพูน
ช่วงเวลา ประเพณีตานก๋วยสลากเป็นการถวายทานโดยไม่เจาะจงผู้รับ จะทำกันตั้งแต่วันเพ็ญเดือน ๑๒ เหนือ(ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ใต้) จนถึงเกี๋ยงดับ (แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ใต้)ความสำคัญประเพณีตานก๋วยสลากเป็นประเพณีในพุทธศาสนาที่สำคัญอย่างหนึ่งในล้านนาไทย ซึ่งสืบเนื่องมาจากค่านิยมที่สืบทอดมาช้านานคือ๑. ประชาชนว่างจากภารกิจการทำนา๒. ประชาชนหยุดพักไม่เดินทางไกลเพราะเป็นฤดูฝน๓. พระสงฆ์จำพรรษาอยู่อย่างพรักพร้อม๔. ผลไม้มากและกำลังสุก เช่นส้มโอ ส้มเกลี้ยง กล้วย อ้อยฯลฯ๕. ได้โอกาสสงเคราะห์คนยากจน เป็นสังฆทาน๖. ถือว่ามีอานิสงส์แรง คนทำบุญจะมีโชคลาภ๗. มีโอกาสหาเงินและวัสดุบำรุงวัดก๋วยสลากแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ๑. สลากน้อย หรือก๋วยเล็ก ใช้อุทิศแด่ผู้ตาย หรือเป็นกุศลมากขึ้น๒. สลากก๋วยใหญ่ หรือสลากโชค หรือเป็นสลากที่บรรจุในก๋วยใหญ่ใช้เป็นมหากุศลสำหรับบุคคลที่มีกำลังศรัทธา และมีเงินทองมาก ทำถวายเพื่อเป็นปัจจัยภายหน้า ให้มีบุญกุศลมากขึ้นพิธีกรรมพิธีกรรมในประเพณีตานก๋วยสลากมี ๒ วัน คือ๑. ก่อนทำพิธี"ตานก๋วยสลาก" ๑ วัน เรียกว่าวันดาเป็นวันจัดเตรียมสิ่งของเพื่อใส่ในก๋วยสลาก ผู้ชายจะตัดไม้มาจักตอกสลากก๋วย (ชะลอม) ไว้หลายๆใบตามศรัทธาและกำลังทรัพย์ ฝ่ายหญิงจะจัดเตรียมสิ่งของที่จะนำมาบรรจุในก๋วย เช่นข้าวสาร พริกแห้ง หอม กระเทียม เกลือ กะปิ น้ำปลา ขนม เมี่ยง บุหรี่ ไม้ขีดไฟ เทียนไข สีย้อมผ้า ผลไม้ รวมทั้งเครื่องใช้ต่าง ๆ แล้วบรรจุลงในก๋วยสลากที่กรุด้วยใบตอง ใบหมากผู้หมากเมีย"ใส่ยอด" คือธนบัตร ผูกติดไม้ เสียบไว้ในก๋วยให้ส่วนยอดหรือธนบัตรโผล่มาแล้วรวบปากก๋วยสลากตกแต่งด้วยดอกไม้ "ยอด" หรือธนบัตรที่ใส่นั้นไม่จำกัดว่าเป็นจำนวนเท่าใดส่วนสลากโชคหรือสลากก๋วยใหญ่ ของที่นำบรรจุในก๋วยเช่นเดียวกับสลากน้อยแต่ปริมาณมากกว่าหรือพิเศษกว่า สมัยก่อนจะทำเป็นรูปเรือหลังเล็กมีข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น หม้อข้าว หม้อแกง ถ้วยแกงถ้วยชาม เครื่องนอน เครื่องนุ่งห่ม อาหารสำเร็จรูปใส่ไว้ด้วย มีต้นกล้วย ต้นอ้อยผูกติดไว้ "ยอด" หรือธนบัตรจะใส่มากกว่าสลากน้อยก๋วยสลากทุกอันต้องมี "เส้นสลาก" ซึ่งทำจากใบลานหรือปัจจุบันใช้กระดาษมาตัดเป็นแผ่นยาวๆ เขียนชื่อเจ้าของไว้ และยังบอกอีกว่าจะอุทิศไปให้ใคร เช่น " สลากข้างซองนี้ หมายมีผู้ข้า นาย... นาง ขอทานไปถึงกับตนภายหน้า " หมายถึงถวายทานเพื่อเป็นกุศลแก่ตนเองเมื่อล่วงลับไป และอีกแบบหนึ่ง คือ"สลากข้าวซองนี้ หมายมีผู้ข้านาย.....นาง.....ขอทานไปถึงยังนาย/นาง....(ชื่อผู้ตาย) ผู้เป็น.......(ความเกี่ยวข้องกับผู้ให้ทาน)ที่ล่วงลับ ขอให้ไปรอดไปถึงจิมเต่อ" หมายถึงอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ในวันดาสลาก จะมีญาติพี่น้องเพื่อนฝูงจากหมู่บ้านต่างๆ ที่รู้จักมาร่วมทำบุญ โดยนำเงินหรือผลไม้เช่น กล้วย อ้อย ฯลฯ มาร่วมด้วยและช่วยจัดเตรียมสิ่งของใส่ก๋วยสลาก เจ้าภาพต้องเลี้ยงดูอาหาร เหล้ายาและขนม๒. วันทานสลาก ชาวบ้านนำก๋วยสลากที่จัดทำแล้วไปวัด และเอา"เส้นสลาก" ทั้งหมดไปรวมกันที่หน้าพระประธานในวิหาร จะมีการฟังเทศน์อย่างน้อย ๑ กัณฑ์ ผู้รวบรวมสลากมักจะเป็นมัคทายก (แก่วัด) นำเส้นสลากทั้งหมดมารวมกันแล้วแบ่งเส้นสลากทั้งหมด เป็น ๓ ส่วน(กอง) ส่วนหนึ่งเป็นของพระเจ้า (คือของวัด)อีก ๒ ส่วนเฉลี่ยไปตามจำนวนพระภิกษุสามเณรที่นิมนต์มาร่วมในงานทำบุญ หากมีเศษเหลือมักเป็นของพระเจ้า (วัด) ทั้งหมดพระภิกษุสามเณรเมื่อได้ส่วนแบ่งแล้ว จะยึดเอาชัยภูมิแห่งหนึ่งในวัดและออกสลากคือ อ่านชื่อเส้นสลากดังๆ หรือให้ลูกศิษย์(ขะโยม) ที่ได้ตะโกนตามข้อความที่เขียนไว้ในเส้นสลาก หรือเปลี่ยนเป็นคำสั้นๆเช่น ศรัทธา นายแก้ว นามวงศ์ มีนี่เน้อ " บางรายจะหิ้ว "ก๋วย" ไปตามหาเส้นสลากของตนตามลานวัดเมื่อพบสลากของตนแล้วจะเอาสลากของตนถวายพระ พระจะอ่านข้อความในเส้นสลากและอนุโมทนาให้พรแล้วคืนเส้นสลากนั้นให้เจ้าของสลากไป เจ้าของสลากจะนำเส้นสลากไปรวมในวิหาร เมื่อเสร็จแล้วมัคทายกหรือแก่วัด จะนำเอาเส้นสลากนั้นไปเผาหรือทิ้งเสียสาระการตานก๋วยสลากมีประโยชน์และคุณค่าดังนี้๑. เป็นการสร้างความสามัคคีกันของคนในหมู่บ้านใกล้เคียง๒. เป็นการแสดงความกตัญญูต่อญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้ว๓. เป็นการบริจาคทานที่ถือว่ามีอานิสงส์มาก๔. เป็นการหาเงินและวัสดุมาบูรณะปฏิสังขรณ์วัด

ประเพณีกรวยสลาก



ชื่อ
ประเพณีกรวยสลาก
ภาค ภาคเหนือ
จังหวัด ตาก
ช่วงเวลา ประเพณีกรวยสลาก หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า กินก๋วยสลาก ได้ปฏิบัติกันมาเป็นประจำทุกปีเกือบทุกวัด เริ่มจะไม่มีกำหนดตายตัว อาจจะทำในช่วงเข้าพรรษาก็เคยมีความสำคัญเป็นงานประเพณีของท้องถิ่นที่ปฏิบัติกันมาเป็นประจำทุกปี ทุกบ้านจะหยุดงานเพื่อมาร่วมกันเตรียมงาน เตรียมกองสลาก เตรียมจัดอาหารเลี้ยงผู้ที่มาร่วมงานพิธีกรรมเมื่อได้กำหนดวันกรวยสลากแล้ว ทางวัดจะแจ้งให้ผู้มีจิตศรัทธาทราบเพื่อจัดเตรียมอาหารสิ่งของต่าง ๆ ที่พระภิกษุจำเป็นต้องใช้ อาจทำเป็นบุคคลหรือคณะก็ได้ แต่ละกอง สิ่งของที่เตรียมมานี้จะทำภาชนะบรรจุอย่างสวยงาม ประดับตกแต่งเป็นซุ้มแบบเรือนไทย เรือนยอดหรือดอกบัว ตั้งเรียงรายรอบพระอุโบสถ วันนี้ถือว่าเป็นวันสำคัญทางวัดจะจัดเตรียมอาหารคาวหวาน ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารผู้มาในงานนี้อย่างเต็มที่ บุคคลที่จะได้จับสลากก็คือ พระภิกษุที่ได้นิมนต์มาจากวัดต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นเจ้าอาวาสหรือพระภิกษุที่ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความเคารพนับถือ เมื่อมาพร้อมกันแล้วก็เข้าพระอุโบสถทำพิธีสวดมนต์บทต่าง ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลของพุทธศาสนิกชน ต่อจากนั้นก็เริ่มจับสลาก พระภิกษุรูปใดจับได้หมายเลขหรือชื่อที่ตรงกับซุ้มกรวยสลากหมายเลขหรือชื่อนั้นก็ไปรับถวายพร้อมด้วยอนุโมทนา เจ้าของกรวยสลากก็ช่วยกันหาซุ้มกรวยสลากใส่รถแห่ไปส่งถึงวัดอย่างสนุกสนานสาระเป็นประเพณีของชาวพุทธที่มีการทำบุญให้ทานรับพรจากพระ จะทำให้เกิด สิริมงคลแก่ตน และอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นการระลึกถึงบุญคุณของผู้มีพระคุณ และเป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีของคนในชุมชน

ประพณีทอดผ้าป่าแถว



ชื่อ ทอดผ้าป่าแถว
ภาค ภาคเหนือ
จังหวัด กำแพงเพชร

ช่วงเวลาในอดีต กระทำเฉพาะในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ (วันลอยกระทง) ณ วัดบาง ปัจจุบัน กระทำในวันขึ้น๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ (วันลอยกระทง) ณ วัดบาง และในงานประเพณีนบพระเล่นเพลง ณ วัดพระแก้ว อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรความสำคัญเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนจะได้ถวายเครื่องนุ่งห่มและไทยธรรม เป็นเครื่องบูชาแด่พระสงฆ์ก่อนจะทำพิธีลอยกระทงบูชาพระพุทธบาทตามคติความเชื่อแต่โบราณ ในอดีต เนื่องจากในเขตชุมชนเมืองกำแพงเพชรมีวัดสำคัญ ๓ วัด คือ วัดบาง วัดคูยาง วัดเสด็จ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการจัดพิธีบุญในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชาวเมืองจึงนัดหมายกันประกอบพิธีบุญใหญ่หมุนเวียนกันไปตามวัดทั้ง ๓ วัด เมื่อกำหนดประกอบพิธีบุญใหญ่ในวัดใด ก็จะนิมนต์พระสงฆ์จากวัดอื่นอีก ๒ วัดมาร่วมประกอบพิธีกันในคราวเดียวพิธีกรรมในเวลาเย็นก่อนทำพิธีลอยกระทง ศาสนิกชนทั้งผู้สูงอายุ หนุ่มสาว และเด็ก ในแต่ละครอบครัวจะนำผ้าซึ่งอาจจะเป็นผ้าสบง จีวร หรือ ผ้าเช็ดตัวสีเหลือง และเครื่องไทยธรรมมี ธูป เทียน หอม กระเทียม พริกแห้ง น้ำตาลทราย ไม้ขีดไฟ เป็นต้น จัดบรรจุในชะลอมหรือภาชนะอื่นๆ ไปรวมกันในสถานที่ที่นัดหมายกันไว้กรรมการวัดจะเตรียมกิ่งไม้สดพร้อมใบไม้ปักแสดงตำแหน่งไว้เป็นแถว ๆ ต่างว่าเป็นป่าเมื่อชาวบ้านแขวนผ้าที่นำมาไว้บนกิ่งไม้จึงเรียกว่าผ้าป่าแถว เมื่อได้ตำแหน่งแล้ว เจ้าของผ้าป่าจะไปจับสลากชื่อฉายาของพระสงฆ์ที่จะมาชักผ้าป่าของตนแล้วนำชื่อฉายานั้นมาติดแสดงไว้ที่ผ้าป่า หลังจากนั้นต่างก็จับกลุ่มกันรอเวลาที่พระสงฆ์จะมาส่องไฟหาชื่อฉายาของท่าน ซึ่งกว่าจะพบก็เป็นที่สนุกสนานของเด็กๆ และหนุ่มสาวที่คอยให้กำลังใจแก่พระสงฆ์ เมื่อพบชื่อฉายาของท่านที่กองผ้าป่าใด ท่านก็จะทำพิธีชักผ้าป่า พร้อมกับสวดมนต์ให้พรแก่เจ้าของกองผ้าป่าเป็นเสร็จพิธีสาระแสดงถึงความสามัคคีและความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของชาวเมืองกำแพงเพชรในการจัดการให้เกิดความสะดวกแก่การประกอบพิธีบุญร่วมกัน และส่วนของความสนุกสนานก็นับว่าเป็นกุศโลบายนำเด็กและเยาวชนให้รู้จักและสืบทอดประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ประเพณีงานปอย


ชื่อ งานปอย
ภาค ภาคเหนือ
จังหวัด พะเยา

ความสำคัญ งานปอย หมายถึงงานฉลอง งานสมโภชรื่นเริง แบ่งได้ ๔ ประเภท คือ๑. งานปอยหน้อย๒. งานปอยหลวง๓. งานปอยข้าวสังข์๔. งานปอยล้อสาระงานปอยหน้อยหมายถึงปอยบวชและปอยเป็ก ที่ได้ชื่อเช่นนี้เพราะเป็นงานรื่นเริงส่วนบุคคลระหว่างพ่อแม่ของนาคญาติและมิตรใกล้เคียงเท่านั้น เป็นการฉลองไม่ใหญ่โต จึงเรียกว่า ปอยหน้อย หมายถึงปอยหรืองานเล็ก ๆงานปอยหลวงหมายถึงงานสมโภชใหญ่ ได้แก่การฉลองถาวรวัตถุประจำหมู่บ้าน เช่น โบสถ์ วิหาร กุฏิสงฆ์ เจดีย์เป็นต้น เป็นงานมหกรรมที่ใช้เวลาหลายวัน มีประชาชนและหัววัดต่าง ๆ (มาจากวัดอื่น ๆ) มาร่วมเป็นจำนวนมาก จึงเรียกว่า ปอยหลวง หมายถึงปอยหรืองานใหญ่งานปอยข้าวสังข์หมายถึงงานอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ลูกหลาน ญาติ พี่น้อง จะจัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้อาหาร เพื่อจะอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว จะมีการนิมนต์พระสงฆ์ มารับเครื่องไทยทานในตอนเช้าหรือเพลก็ได้ งานนี้อาจจะมีมหรสพการละเล่น มาในงานทำให้เกิดความสนุกเพลิดเพลินได้งานปอยล้อหมายถึง งานศพพระสงฆ์ที่เป็นพระเถระผู้ใหญ่เป็นที่เคารพสักการะ หรือเป็นเจ้าบ้าน เจ้านคร เมื่อตายลงประชาชนญาติมิตรจะจัดงานศพให้ใหญ่โต จัดทำปราสาทใส่ศพเป็นยอดจตุรมุขสวยงามมาก ศพผู้ตายที่ได้ใส่ปราสาทถือว่าเป็นเกียรติยศอย่างยิ่ง

ประเพณีกิ๋นสลาก



ชื่อ กิ๋นสลาก
ภาค ภาคเหนือ
จังหวัด แพร่
ช่วงเวลา จัดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคม-กันยายน ของทุกปีความสำคัญกิ๋นสลากเป็นประเพณีการทำบุญกิ๋นตานไปหาญาติผู้ล่วงลับ โดยถวายก๋วยสลากผ่านผู้ทรงศีล และเป็นการทำบุญเพื่อบำรุงพระพุทธศาสนา เป็นการแสดงออกถึงความเสียสละและความสามัคคีของคนในชุมชนพิธีกรรมเมื่อกำหนดวันกิ๋นสลากแล้วจะบอกบุญไปยังหัววัดต่างๆ ที่ใกล้เคียง และชาวบ้านมาร่วมงานบุญ บ้างขายข้าวขายผลิตผลทางการเกษตร จัดเตรียมตัดเสื้อผ้าใหม่ ซื้อข้าวของ เอาไม้ไผ่มาจักเป็นตอกสานก๋วยสลาก ในวันก่อนวันงานเรียกว่า วันดาสลาก จะมีการทำขนม ข้าวปลาอาหารเป็นห่อๆ ผลไม้สำหรับบรรจุลงในก๋วยสลาก ซึ่งจะมีก๋วยสลากน้อย ก๋วยโจคสำหรับจับเส้นสลาก และกัณฑ์สลากหลวงเป็นกัณฑ์จูดสำหรับถวายวัด บางวัดนิยมนำเครื่องไทยทานบรรจุในถังพลาสติก ที่วัดพระธาตุช่อแฮมีการบรรจุเครื่องไทยทานในหม้อดินเผาและจะใช้ใบลานหรือกระดาษเขียนคำอุทิศส่วนกุศลถึงญาติผู้ล่วงลับ ก๋วยละ ๑ ใบ ในวันงานชาวบ้านจะตื่นแต่เช้าถุงหาอาหารห่อใส่ก๋วยสลาก บ้างก็นำก๋วยสลากไปวางบนโต๊ะที่เตรียมไว้ในบริเวณวัด บ้างก็นำก๋วยเข้าร่วมขบวนแห่กัณฑ์สลากหลวงที่ทำจากไม้ไผ่แต่งเป็นชั้นๆ ในขบวนจะมีการแสดงการละเล่นพื้นบ้าน ขบวนฟ้อนพื้นเมือง ฟ้อนประยุกต์ ดนตรีพื้นเมือง เป็นที่ สนุกสนาน เมื่อไปถึงวัดจะตั้งกัณฑ์สลากที่บริเวณลานวัด และนำเส้นสลากไปรวมปนกันในโบสถ์เพื่อแบ่งปันให้กับพระสงฆ์และสามเณรตามสัดส่วนอันสมควรต่อไป ระหว่างรอขบวนหัววัดต่างบ้าน จะมีการสวดมนต์ไหว้พระภายในโบสถ์ ถวายเพล รับพรพระพอเสร็จพิธีในโบสถ์แล้ว พระสงฆ์และสามเณรพร้อมด้วยศิษย์วัดจะนำเส้นสลากเดินไปหาเจ้าของก๋วยสลากเมื่อหาพบแล้วพระจะอ่านเส้นสลาก ดังตัวอย่าง นายตา ติ๊บอ๊ะ จะตานไปหานางน้อย ติ๊บอ๊ะ ผู้เป็นแม่ซึ่งได้ล่วงลับไปแล้ว ขอหื้อนาบุญนี้ได้ส่งไปฮอดไปถึงจิ่มแต้ดีหลีเต๊อะ เจ้าของ ก๋วยสลากรับเส้นสลากพร้อมถวายก๋วยสลาก พระให้พร จากนั้นก็ไปหาก๋วยสลากเส้นอื่นต่อไปจนกว่าจะหมด บางครั้งเจ้าของก๋วยก็อาจให้ลูกหลานเดินหาเส้นสลากของตนจากพระโดยฟังจากการอ่านเส้นของพระเพื่อให้เร็วขึ้นสาระประเพณีทำบุญกิ๋นสลาก เป็นการทำบุญที่ก่อให้เกิดผลทางจิตใจในระดับสูงขึ้นวิธีหนึ่ง แสดงถึงภูมิปัญญาชาวบ้านในการหาอุบายที่จะฝึกคนให้รู้จักการให้ โดยไม่มีสิ่งแอบแฝงเพราะการเตรียมก๋วยสลากเจ้าของจะไม่ทราบว่าก๋วยสลากนี้จะถวายพระรูปใด จึงเป็นการทำบุญ ทำทานที่บริสุทธิ์ใจอย่างยิ่ง จึงเป็นประเพณีที่ควรอนุรักษ์และปฏิบัติสืบทอดต่อไป

ประเพณีแข่งเรือเมืองน่าน



ชื่อ แข่งเรือเมืองน่าน
ภาคเหนือ
จังหวัด น่าน
การแข่งเรือของจังหวัดน่าน เป็นประเพณีเก่าแก่สืบต่อกันมานาน ลักษณะของเรือแข่ง ลำเรือจะใช้ท่อนซุงทั้งท่อนขุดแบบเรือชะล่า แต่รูปร่างเพรียวเบา หัวเรือแกะเป็นรูปพญานาค หรืองูใหญ่ชูคอเป็นสง่า อ้าปากโง้ง หางเรือทำเป็นหางพญานาคงอนสูง ตลอดลำเรือสลักลวดลาย ลงรักปิดทอง ติดกระจกสี ติดพู่ห้อยตรงหัวเรือและท้ายเรือ ตรงคอต่อหัวเรือปักธงประจำคณะช่วงเวลานิยมแข่งขันกันในงานบุญและงานทอดกฐิน การแข่งเรือนัดสำคัญๆ ของจังหวัดน่าน คือ การแข่งในงาน"กฐินสามัคคี" เดิม ปัจจุบันคืองาน "กฐินพระราชทาน" แบ่งการแข่งขันออกเป็น ๒ ประเภท คือประเภทสวยงาม และประเภทความเร็ว การแข่งเรือในเทศกาลทอดกฐินของจังหวัดน่าน ซึ่งจะจัดช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ถือว่าเป็นการจัดงานที่ยิ่งใหญ่ และเป็นระเบียบเรียบร้อยงดงามยิ่งในจังหวัดภาคเหนืออีกแห่งหนึ่งที่จัดให้มีการแข่งขันเป็นประจำปี คือ การแข่งเรือที่อำเภอเวียงสาซึ่งจะมีการแข่งขันในเทศกาลทานก๋วยสลาก และเป็นการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้การแข่งเรือในตัวจังหวัดความสำคัญลักษณะของเรือเมืองน่าน มาจากตำนานการตั้งเมืองน่านว่า ท้าวนุ่น ขุนฟองซึ่งเป็นต้นเค้าของราชวงศ์ภูคา บรรพบุรุษของเมืองน่านเกิดจากไข่พญางูใหญ่ จึงมีความเชื่อว่าบรรพบุรุษของชาวน่านกำเนิดมาจากพญานาค อีกประการหนึ่งมีความเชื่อว่าพญานาคเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งมีผลต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกร ดังนั้นการทำเรือแข่งเป็นรูปพญานาคจึงเป็นการบูชาคุณพญานาคเจ้าแห่งน้ำ และบรรพบุรุษของตนเองพิธีกรรมพิธีกรรมในการแข่งเรือมีมากมายหลายขั้นตอน ตั้งแต่การหาไม้เพื่อขุดเรือ การทำพิธีก่อนโค่นต้นไม้ก่อนขุดเรือ ก่อนนำเรือลงน้ำ และตอนแข่งขัน ผู้ที่ทำพิธี ได้แก่ พ่ออาจารย์ หรืออาจารย์วัดซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการติดต่อระหว่างมนุษย์กับภูตผีสาระสำคัญการแข่งเรือเป็นประเพณีที่เนื่องด้วยการทำบุญในพุทธศาสนา คือ การทานก๋วยสลาก และการทอดกฐิน แสดงถึงความสามัคคีของชุมชน นอกจากนี้กลวิธีในการเอาชนะคู่ต่อสู้ถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอีกอย่างหนึ่งที่ควรสืบทอดให้คงอยู่ต่อไป